สมรรถภาพเสื่อม/หลั่งไว/อ่อนตัวใช้การไม่ได้/ขาดความรู้สึกทางเพศ

disfuctionsex

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ  จากข้อมูลการสำรวจของสมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์พบว่า ร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของชายไทยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีอาการของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction หรือ ED) เช่นเดียวกับผู้ชายทั่วโลก ผู้ชายจึงควรทำความรู้จักกับโรคนี้ให้ดี

การแข็งตัวขององคชาตเกิด  การแข็งตัวขององคชาตเกิดขึ้นได้ เมื่อหลอดเลือดแดงในอวัยวะเพศขยายตัวหลังได้รับการกระตุ้นทางเพศที่เหมาะสม ทำให้เลือดไหลเข้าไปในอวัยวะเพศมากขึ้นๆ แต่ไหลกลับออกไปสู่ร่างกายได้น้อยกว่า อวัยวะเพศจึงค่อยๆขยายตัวและแข็งขึ้นจนสามารถสอดใส่เข้าสู่ช่องคลอดได้

หย่อนสมรรถภาพทางเพศ  โดยธรรมชาติ องคชาตของผู้ชายไม่จำเป็นต้องแข็งตัวได้ดี หรือแข็งตัวเต็มที่เหมือนกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียดจากการงาน ความอ่อนเพลียเพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม จึงส่งผลให้องคชาตไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวได้น้อยจนดูเหมือนเป็นปัญหา แต่ถ้าเป็นเพราะปัจจัยเหล่านี้ ก็จะเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากทางการแพทย์จะถือว่าผู้ป่วยเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศก็ต่อเมื่อมีอาการต่อเนื่องกันนานประมาณ 6 เดือน

สาเหตุ  สาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ 
  สาเหตุทางกาย อันเนื่องมาจากผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เช่น ป่วยด้วยโรคทางระบบหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน หรือป่วยด้วยโรคทางระบบประสาท โดยโรคที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงสุดคือเบาหวาน เนื่องจากเป็นโรคที่มีผลกระทบทั้งต่อระบบหลอดเลือดและระบบประสาท นอกจากนี้ยังมีเรื่องของมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งการผ่าตัดรักษาอาจส่งผลต่ออาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ค่อนข้างสูง

      สาเหตุทางด้านจิตใจ หากไม่ใช่โรคทางจิตเวชโดยตรง เช่น โรคซึมเศร้า ก็มักมีสาเหตุมาจากความเครียด ความวิตกกังวล เช่น วิตกกังวลว่าจะทำไม่สำเร็จ โดยผู้ป่วยบางรายเคยประสบความล้มเหลวในการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วหนึ่งหรือสองครั้ง โดยอาจจะมีสาเหตุมาจากการขาดประสบการณ์หรือความไม่พร้อมในบางด้าน ไม่ได้เกี่ยวกับโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศแต่อย่างใด แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้ขาดความมั่นใจ กลัวจะต้องพบกับความล้มเหลวเหมือนเช่นที่ผ่านมา ภาวะวิตกกังวลนี้เรียกว่า “Performance Anxiety” ซึ่งจะส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงองคชาตได้น้อยลง จนไม่สามารถแข็งตัวได้ ทั้งที่หลอดเลือดก็ไม่ได้มีความผิดปกติใดๆ

การวินิจฉัย  ปัญหาทางเพศของผู้ชายแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction) หมายถึง การที่องคชาตไม่สามารถแข็งตัว หรือแข็งตัวได้น้อยมาก จนไม่สามารถสอดใส่และทำให้การร่วมเพศประสบความสำเร็จได้ หรือในบางรายอาจสอดใส่ได้ แต่กลับอ่อนตัวลงทั้งที่ยังไม่มีการหลั่ง ซึ่งโดยปกติองคชาตจะอ่อนตัวลงหลังจากถึงจุดสุดยอดและมีการหลั่งน้ำอสุจิแล้ว
 การหลั่งเร็ว (premature ejaculation) หรือที่มักเรียกกันในเชิงล้อเลียนว่า ล่มปากอ่าว หรือนกกระจอกไม่ทันกินน้ำ อาการกลุ่มนี้จะแตกต่างจากกลุ่มแรกตรงที่การแข็งตัวขององคชาตไม่ได้เสียไป องคชาตยังคงแข็งตัวและสอดใส่ได้ เพียงแต่สอดใส่ได้ไม่นานก็ถึงจุดสุดยอด เกิดการหลั่งของน้ำอสุจิเร็วกว่าที่ตั้งใจไว้ 
ไม่มีความต้องการทางเพศ (loss of sexual desire) ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามช่วงวัย มักพบในผู้สูงอายุ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งอาจมาจากฮอร์โมนเพศชายที่ลดลง แต่พบได้น้อยเนื่องจากฮอร์โมนเพศชายจะหมดช้า แตกต่างจากฮอร์โมนเพศหญิงที่พอหมดช่วงวัยก็จะลดลงค่อนข้างรวดเร็ว 
   เมื่อปัญหาทางเพศที่พบในผู้ชายแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มข้างต้น ในการตรวจวินิจฉัย แพทย์จึงจำเป็นต้องซักถามผู้ป่วยให้ชัดเจนถึงอาการที่เกิดขึ้นว่าอยู่ในกลุ่มใด เพื่อจะดำเนินการรักษาได้อย่างตรงจุด เนื่องจากยังมีความสับสนอยู่มาก เช่น บางคนเข้าใจว่า อาการล่มปากอ่าว กับ หย่อนสมรรถภาพทางเพศ อยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือบางคนเข้าใจว่าตนเองเป็นปัญหาในกลุ่มที่สามคือไม่มีความต้องการทางเพศแล้ว แต่พอซักถามอย่างละเอียดกลับกลายเป็นว่า อันที่จริงยังมีความต้องการทางเพศอยู่ แต่องคชาตไม่สามารถแข็งตัวได้ก็มี หรือในบางรายอาจพบอาการในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น คนที่เผชิญภาวะล่มปากอ่าวบ่อยๆ อาจเกิดความวิตกกังวลในการมีเพศสัมพันธ์มากจนกระทั่งองคชาตไม่ยอมแข็งตัว หรือในรายที่เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศก็เกรงว่าองคชาตจะอ่อนตัวลงก่อนการหลั่ง จึงเร่งรีบที่จะทำให้เสร็จ กลายเป็นการหลั่งเร็วไปก็มี                                                       การใช้ยา โดยยาที่ใช้จะมีกลไกทำให้หลอดเลือดบริเวณอวัยวะเพศเกิดการขยายตัว ทำให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้การแข็งตัวดีขึ้นและนานขึ้น แต่ยาจะได้ผลก็ต่อเมื่อมีกลไกทางธรรมชาติเข้ามาเสริมฤทธิ์ กล่าวคือ หลังจากรับประทานยาแล้วประมาณครึ่งชั่วโมง ผู้ป่วยจะต้องมีการกระตุ้นทางเพศ องคชาตจึงจะแข็งตัว เพราะตัวยาจะออกฤทธิ์ก็ต่อเมื่อร่างกายมีการหลั่งสารที่เกิดจากการกระตุ้นให้มีเพศสัมพันธ์

แนวทางการรักษา โรคสมรรถาพทางเพศเสื่อม

ข้อความนี้ถูกเขียนใน general คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.