พากินสัน โรคติกส์ กล้ามสั่น กล้ามเนื้อกระตุก โรคลมชัก ลมบ้าหมู โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ/ปวดข้อ-ปวดตึง/ชาตามมือเท้า/เจ็บเสียวกล้ามเนื้อ/กล้ามเนื้อติดหดเกร็ง

loอาการปวดมื่อยตามร่างกาย เทียบเคียงโรคในตำราแพทย์แผนไทย เช่น โรคกระษัยเส้น (อาการปวดเมื่อยเป็นๆหาย ทรมาน)  โรคในกองลม ลมเข้าเส้น ลมจับโปง(ข้อบวม) ธาตุลมพิการ ลมเข้าเส้น เส้นพิการ ลมอัมพฤก เป็นต้น ในบุคคลที่อายุมากกว่า32ปี จะพบปัญหามากคือโรคปวดเมื่อยข้อ กล้ามเนื้อ เพราะวาโยธาตุเสื่อม หมายถึงลมในร่างกายพัดพาเลือดลม ไปไม่ทั่วธาตุต่างๆที่องค์ประกอบของร่างกาย ในปัจจุบันจะพบว่าอาหารการกิน เป็นสาเหตุหลักๆ ส่งผลให้เกิดโทษต่อร่างกาย คือเลือดมีความข้นเหนียว

ข้อมูลโรคปวดเมื่อย6ข้อในแนวทางปัจจุบัน  1.การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อทำงานมากในบางตำแหน่ง ทำให้เกิดความล้าหรือเกิดอาการหดเกร็งเฉพาะที่ ส่วนใหญ่อาการปวดแบบนี้จะปวด ๆ เมื่อย ๆ ในบริเวณของกล้ามเนื้อที่มีปัญหา มักพบที่ศอกหลังและเอวเป็นส่วนใหญ่ และมักจะเป็นผลมาจากการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง ที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน ๆ เช่น นั่งก้มหลังมากเกินไป อาจจะเพราะมีความเคยชิน หรือหลังโกงจากกระดูกสันหลังทรุด กล้ามเนื้อหลังบางส่วนมีการหดเกร็งมากกว่าปกติ ทำให้ปวดได้ สาเหตุที่พบบ่อยอีกประเภทหนึ่ง คือ ท่านอนที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้หมอนสูงเกินไป ทำให้คอเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าปกติ ที่นอนนิ่มเกินไป พอลงไปนอนที่นอนยุบตัวลง ทำให้กระดูกสันหลังอยู่ในลักษณะโก่งงอเป็นเวลานาน พอตื่นขึ้นมาจะรู้สึกเมื่อย และในทางกลับกันถ้าใช้ที่นอนแข็งเกินไป และนอนหงายเป็นส่วนใหญ่ กระดูกสันหลังส่วนเอวจะมีการแอ่นตัวผิดปกติ เพราะส่วนก้นและสะโพกก้นติดกับพื้น หนุนให้ส่วนเอวแอ่นขึ้นทำให้ปวดหลังได้เช่นกัน การยกของหนักโดยใช้ท่าที่ไม่ถูกต้อง ก็ทำให้เกิดการปวดเจ็บที่กล้ามเนื้อได้ จึงต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการยกของเป็นพิเศษ   2. อาการปวดเส้นเอ็น พบบ่อยบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวข้อมาก ๆ เช่น บริเวณไหล่ ศอก ข้อมือ ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นในบริเวณนี้ และถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจจะทำให้เกิดความพิการต่อไป เช่น ไหล่ติด ยกแขนไม่ขึ้น ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามที่ควรจะเป็น                                                                                3. อาการปวดจากเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดแสบ และร้าวไปตาม เส้นประสาทนั้น ๆ ถ้ามีอาการมาก อาจจะทำให้กล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทนั้นอ่อนแรงลง ถ้าเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงขาถูกกด อาจจะทำให้เดินลำบากได้ ตำแหน่งที่พบบ่อยคือที่บริเวณกระดูกคอ เกิดขึ้นจากกระดูกสันหลังบริเวณคอเสื่อม มีแคลเซียมมาเกาะ และกดลงไปที่เส้นประสาทที่ออกจากช่องระหว่างกระดูกคอ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่คอ ไหล่ และอาจจะปวด ลงไปที่แขน และมือ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการที่คอด้านใดด้านหนึ่ง บางรายถ้าเป็นมากอาจจะเป็นทั้ง 2 ด้านก็ได้ นอกจากที่คอแล้ว บริเวณหลัง เอว ก็เกิดอาการนี้ได้บ่อยเช่นกัน ส่วนมากเกิดจากการยกของหนัก ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ส่วนของกระดูกสันหลังที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก ซึ่งอยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง 2 อัน เคลื่อนออกมาจากตำแหน่งเดิม มากดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ผู้ป่วยจะเกิดอาการปวดหลังอย่างมาก และส่วนใหญ่จะเป็นแบบเฉียบพลัน จะมีอาการปวดร้าวไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง อาการปวดที่รุนแรงจนถึงขั้นต้องนอนพักหลาย ๆ วัน   4. ปวดข้อต่อ ข้อพับผู้สูงอายุเป็นโรคข้อได้หลายโรค ที่เจอบ่อยได้แก่ข้อเสื่อม ส่วนมากมักพบที่หัวเข่า โดยเฉพาะในรายที่อ้วนมาก หรือในคนที่ทำงานแบกหาม ต้องแบกของน้ำหนักมาก ๆ นาน ๆ ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ผู้ที่ต้องขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง และขึ้นลงอย่างรุนแรง (วิ่งหรือกระโดดลง) ทำให้กระดูกอ่อนในข้อเข่าเสื่อมมากกว่าปกติ เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดอาการปวดข้อได้ ลักษณะการนั่งของคนไทยที่นิยมนั่งกับพื้น โดยการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิหรือนั่งยอง ๆ มีการพับงอของหัวเข่าอย่างมาก เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบเข่า มีการยืดผิดปกติ และในช่วงที่มีการงอเข่ามาก ๆ เลือดจะมาเลี้ยงเข่าไม่สะดวก ทำให้หัวเข่าไม่แข็งแรง และเกิดปัญหาในเวลาต่อมาได้ นอกจากนี้ที่บริเวณหัวเข่าแล้ว ข้อเสื่อมบริเวณนิ้วมือก็พบได้ไม่น้อยเช่นกัน จะมีอาการปวดและข้อบวมโตกว่าปกติ ที่ข้อนิ้วมือส่วนปลายเกือบทุกนิ้ว ส่วนมากมักพบในสตรี คิดว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับการทำงานที่ใช้มือมากเช่น ซักและบิดผ้า เป็นต้น                             การปวดข้อที่เกิดจากสาเหตุอื่นได้แก่ จากโรคเก๊าท์ การติดเชื้อในข้อ และโรคข้อชนิดอื่น เช่น รูมาตอยด์ เป็นต้น ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ส่วนใหญ่ มักจะเริ่มปวดข้อครั้งแรกในวัยกลางคน มักปวดที่ข้อที่ข้อนิ้วหัวแม่เท้าเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจจะปวดที่ข้ออื่น ๆ ก็ได้ อาการปวดมักเริ่มในตอนกลางคืน และปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมา ที่ข้อจะมีอาการบวม แดง ร้อนชัดเจน และเจ็บมากเวลามีการเคลื่อนไหวหรือถูกกระทบกระทั่ง สาเหตุเกิดจากกรดยูริกในเลือดไปตกตะกอนที่ข้อ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น ในผู้ป่วยบางรายได้รับการรักษาอาการข้ออักเสบจากเก๊าท์ดีขึ้นแล้ว มักจะคิดว่าหายแล้ว และไม่ได้ติดตามรับการรักษาต่อไป อาจจะกลับมามีอาการปวดข้อได้อีกเป็นระยะ ๆ ส่วนมากจะพบหลังจากการปวดครั้งแรกประมาณ 5-10 ปี ดังนั้นถ้าหากได้รับการวินิจฉัยว่า ปวดข้อจากโรคเก๊าท์ ผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเอง ควบคุมอาหารที่อาจจะกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้นอีก แล้วจะต้องพบแพทย์และติดตามการรักษาเป็นระยะ เพื่อควบคุมให้ปริมาณกรดยูริกในเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสม    5. การปวดเมื่อยเพราะเส้นเลือดเส้นเลือด ถ้ามีการผิดปกติของเส้นเลือดแดง หรือเส้นเลือดดำก็จะทำให้เกิดอาการปวดได้ แต่ลักษณะการปวดจะแตกต่างกันไป ถ้าเส้นเลือดแดงตีบแคบลง เลือดเดินไปสู่กล้ามเนื้อไม่สะดวก จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่กล้ามเนื้อนั้น ๆ ได้ การปวดจะเป็นค่อนข้างเร็ว และมักจะมีอาการจนทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดการเคลื่อนไหว หรือการใช้งานของกล้ามเนื้อนั้น ๆ เช่น ถ้าเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ ถ้าเดินมากกล้ามเนื้อขาต้องการเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น แต่เลือดไปไม่ได้ ทำให้กล้ามเนื้อทำงานต่อไปไม่ไหว เกิดอาการเจ็บปวดจนต้องหยุดเดินและนั่งพัก หลังจากหยุดเดินสักพักอาการดีขึ้น ปวดลดลง ก็สามารถจะเดินต่อไปได้อีก  6.การปวดเมื่อที่เกิดเพราะเลือดคลั่ง และสาเหตุที่ยังไม่ทราบ                                    

อาการของโรคกลุ่มนี้ยังสามารถรักษาได้ครับ เมื่อทราบว่ามีอาการโรค รับติดต่อมาเพื่อรักษา ยินดีรับปรึกษาก่อน โทร 0823877288 ไอดีไลน์ yaforyou

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ image_2021-10-28_200217.png

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ ร2-1024x614.jpgThis image has an empty alt attribute; its file name is Aacontact-us-1.jpgแผนที่เดินทางพบหมอ (โปรดโทรก่อนพบ 1-3 ชม.)mapok

anigifnew

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.