รักษาโรคกลิ่นปากรุนแรง/โรคในช่องปาก/รำมะนาด/แผล/ละอองฝ้า/เริมในช่องปาก/กำจัดหินปูน

1okปัญหากลิ่นปาก และกลิ่นเหม็นจากลมหายใจ

หมายถึงโรคที่เกิดในช่องปาก เหงือก ฟัน ในโพรงจมูก ในคอ กระเพาะ ลำไส้ และทางเดินหายใจ ถึง ปอด เทียบโรคใกล้เคียงกับโรคในการแพทย์แผนไทย การแพทย์โบราณ เช่น โรคทานะสา มังสะ กาฬมังสะ จะละนะมังสะ  ยาโตมังสะ กํศมังสะ กะระนะมังสะ มุกจามังสะ มุกขะโจมังสะ ทันตะตะโจมังสะ ทันตะมูมังสะ รำมะนาด สาภีระ สะวาระนะ กัปปิ กัปโป ทันตะบุปผา  โรคสิงฆานิกาพิการ เขโฬพิการ อุทริยังพิการ บัปผาสังพิการ ในการแพทย์แผนโบราณได้แยกชื่ออาการของโรค และตำแหน่งที่เกิดโรค ไว้หลายชื่อโรค โรคต่างๆที่กล่าวทำให้เกิดกลิ่นปากรุนแรง เรื้อรัง รักษาหายยากในปัจจุบัน การรักษาโรคแนวนี้ยังต้องให้การแพทย์แผนไทยช่วยบำบัดให้มีคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

การคำนวณแบบแพทย์โบราณด้วยสมุติฐานว่าด้วยธาตุ กล่าวคือ ปถวีธาตุพิกัดเสมหะพิการ ที่ตำแหน่งของปาก คอ กระเพราะอาหาร ทีเสมหะเน่าเสีย ทำให้เกิดโรคและ มีกลิ่นเหม็นออกมา

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แนวปัจจุบัน
1. จากช่องปาก (Oral Cavity) – กลิ่นปาก
เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด คือ 80-90 % ของผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องลมหายใจมีกลิ่นเหม็น สาเหตุเกิดจากก๊าซที่มีส่วนประกอบของซัลเฟอร์ ที่เรียกว่า Volatile sulfur compound (VSCs) ได้แก่ สารจำพวก hydrogen sulfide และ methylmercaptan สารเหล่านี้เกิดจากการย่อยสลายของ methionine และ cysteine โดยจุลชีพในปาก
ลมหายใจเหม็นที่มาจากช่องปาก เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียที่บริเวณช่องระหว่างฟัน และ ด้านหลังของโคนลิ้น (อาจจะเกิดจากการที่สารคัดหลั่งจากโพรงจมูก ไหลเข้าสู่คอหอยส่วนปาก จึงเกิดการสะสมขึ้น) โดยเชื้อโรคที่ทำให้เกิดกลิ่นปากส่วนใหญ่ ได้แก่ กลุ่มแบคทีเรียกรัมลบที่ไม่ต้องการอากาศ ที่สำคัญ คือ Porphyromonas gingivalis, Fusobacterum nucleatum, Prevotella intermedia และ เชื้อแบคทีเรียชนิดเกลียว
สภาวะที่ทำให้มีสาร VSCs เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะที่คาร์โบไฮเดรตต่ำ ภาวะความเป็นกรด เป็นกลาง หรือ เป็นด่าง และภาวะที่ไม่มีอากาศ
ภาวะเหงือกอักเสบ และ periodontitis สามารถทำให้เกิดกลิ่นปากได้ แต่กลิ่นปากก็สามารถพบได้ในคนที่ไม่เป็นโรคเหล่านี้เช่นเดียวกัน
2. โพรงจมูก (Nasal passages)
เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสอง คือ 8-10 % ของคนที่ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ลักษณะที่พิเศษ และต่างจากชนิดอื่น คือ ลักษณะที่มีกลิ่นคล้ายเนย (slightly cheesy) โดยกลิ่นจากโรงจมูกนั้น บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อในโพรงจมูก เช่น ไซนัสอักเสบ หรือ อาจจะมีภาวะอุดกั้นของโพรงจมูก เช่น polyps และอาจจะเกิดจากความผิดปกติแบบผิดรูป เช่น โรคเพดานโหว่
ในเด็กเล็กอาจเกิดจากที่เด็กเอาวัตถุแปลกปลอมใส่ในรูจมูก ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย และหนองจากโพรงจมูกมักจะเปื้อนทั่วตัวของเด็ก ทำให้อาจจะมีกลิ่นเหม็นทั่วตัว ทำให้การวินิจฉัยลำบาก
3. ต่อมทอนซิล (Tonsils)
พบเป็นสาเหตุได้ประมาณ 3% เท่านั้น ไม่ใช่สาเหตุหลัก ดังนั้นจึงไม่ควรรักษาโดยการผ่าตัดทอนซิลเพียงแค่ปัญหาเรื่องกลิ่นปากเท่านั้น
ในผู้ป่วยบางคนอาจจะมีหินก้อนเล็ก ๆ จากลิ้น หรือจากต่อมทอนซิล ขณะที่เขาไอ และมักจะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้ผู้ป่วยมักจะคิดว่ากลิ่นปากตัวเองเหม็น ซึ่งหินนั้นคือ tonsillolith ซึ่งออกมาจาก crypts of tonsils (ร่องของต่อมทอนซิล) ซึ่งรักษาได้โดยการใช้เลเซอร์ปิดร่องนั้น
4. อื่น ๆ (Others)
อาทิเช่น จากการติดเชื้อที่หลอดลม และปอด ไตวาย ตับวาย โรคมะเร็งต่าง ๆ โรคทางเมตาบอลิก ซึ่งโรคเหล่านี้พบได้น้อยมากในผู้ป่วยที่เดินเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล
ตัวอย่างที่สำคัญได้แก่ โรคเบาหวาน ซึ่งมีกลิ่นลมหายใจเหม็นจากสารคีโตน พบเฉพาะในคนที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี และจะไม่มีใครคนที่ระดับน้ำตาลคุมได้ดี
ภาวะลมหายใจมีกลิ่นเหม็นนี้ แทบจะไม่พบว่ามาจากหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้เลย เนื่องจากหลอดอาหารในภาวะปกติจะแฟบ อาจจะมีกลิ่นได้ในขณะที่เรอ แต่ว่าจะไม่มีกลิ่นเป็นเวลานาน ๆ ดังนั้นการส่องกล้องดูกระเพาอาหาร (gastroscope) จึงไม่ควรทำในคนไข้ที่มีปัญหาเพียงแค่กลิ่นลมหายใจเหม็น
ในผู้ป่วยบางคน พยายามที่จะดับกลิ่นปากของตนเอง โดยการสูบบุหรี่ ซึ่งกลับทำให้มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์จากบุหรี่เอง โดยกลิ่นจากการสูบบุหรี่นี้ จะยังคงออกมาจากลมหายใจแม้ว่าจะหยุดไปแล้วมากกว่าหนึ่งวัน รวมถึงคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ว่าอยู่ใกล้กับผู้ที่สูบบุหรี่ด้วย
ผู้ป่วยที่มีปัญหาปากแห้ง (xerostomia) จะมีปัญหากลิ่นปากขณะที่ปากแห้ง ซึ่งคาดว่าจะเกิดจากภาวะเป็นกรด หรืออาจจะส่งผลต่อเชื้อโรคที่อาศัยในช่องปาก
สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่

  • การสะสมของสารคัดหลังจากโพรงจมูกที่ไหลลงสู่คอหอย ที่บริเวณด้านหลังของโคนลิ้น
  • มีโรคติดเชื้อในปาก เหงือก ฟัน ลำคอ กระเพาะ เช่นแบคทรีเรีย (แผลติดเชื้อแบคทรีเรีย) เชื้อรา ไวรัสหวัด
  • ภาวะที่สุขอนามัยช่องปากไม่ดี
  • การดูแลรักษาฟันไม่ดี เช่น คราบเชื้อรา แบคทรีเรีย หินปูน กาแฟ คราบไขมัน
  • สาเหตุที่ทำให้ปากแห้ง เช่น ยา ความเครียด การพูดหรือสอนนาน ๆ ช่วงเวลาระหว่างมื้ออาหารนาน
  • ฟันปลอมไม่สะอาด
  • เครื่องดื่มสุรา
  • ช่วงมีประจำเดือน
  • อาหารจำพวกโปรตีนติดที่บริเวณระหว่างฟัน
  • หัวหอม และกระเทียม   
รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ ร4-1024x614.jpg
  • การรักษาโดยแนวทางของหมอมานิตย์ ศรีพจน์ จากประสบการณ์ ประมาณ15ปี ที่ผ่านการรักษาโรคนี้ได้ผล ส่วนมากปัญหาของคนไข้เกิดจากระบบภูมิต้านทาน ความเครียด เชื้อโรค จุลินทรีย์ปรสิตต่างๆในช่องทางเดินอาหาร และทางเดินการหายใจ การรักษาโดยเริ่มด้วยความสะอาดพร้อมกับยาสมุนไพรช่วยสร้างเสริมภูมิต้านทาน และการรักษายาสีฟันชนิดที่หมอผลิตขึ้นเพื่อโรคนี้โดยเฉพาะ ในบางเคสจะมีกลิ่นเหม็นออกทางจมูกขณะหายใจออก จะมียาที่ทำความสะอาดช่องรูจมูกเพื่อสกัดกันเชื้อติดขนจมูกเพิ่มจำนวน คนไข้ใช้ยาต่อเนื่องไปสักระยะอาการกลิ่นรุนแรงทางปากและจมูกจะค่อยๆหายไป ระยะเวลาคนส่วนมากหาย2-4เดือน บางรายอาจใช้เวลากมากกว่านี้ ถ้ามีโรคประจำตัวค่อนข้างรุนแรงร่วมด้วย

ข้อปฏิบัติและข้อห้าม (ผู้ที่อ้างตัวเองว่าไม่มีเวลา ไม่สามารถรักษาโรคกลิ่นปากเรื้อรังได้)

-ใช้ยาที่หมอแนะนำอย่างจริงจัง

-งดรับประทานอาหารรสจัด อาหารไม่สะอาด ไม่สด ไม่สุก และงดอาหารที่มีกลิ่นแรงต่างๆ

-หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารรสหวาน ขนมอบกรอบต่างๆ น้ำหรืออาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ผลไม้รสหวานจัด อาหารกลิ่นแรง เช่นกระเทียม หอมแดง ปลาร้า เป็นต้น

-หลีกเลี่ยง หรือป้องกัน ฝุ่นละออง สถานที่มีสารละอองเคมีฟุ้งกระจาย ด้วยการสวมหน้ากากปิดปาก และจมูก

-ขยันใช้ยาที่หมอแนะนำ โรคนี้ใช้เวลารักษา- 2-4 เดือน หรือมากกว่านี้ในบางรายที่มีโรคแทรกซ้อน หรือ อาจปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง

**คำถามที่มักพบบ่อย**

1.เครียดเรื่องกลิ่นปากแรง ไม่รู้คุณหมอมียาอะไรรักษาหายได้ไหม หมอขอตอบ. โดยปกติของคุณไข้โรคกลิ่นปากรุนแรง หมา่ยถึงปรสิต จุลินทรีย์เข้าจับผนังเซล์ล เช่น ช่องปาก ฟัน ซอกฟัน ทางเดินอาหาร ช่องทางเดินการหายใจ เมื่อมีอาหารหรือสารเมือกต่างๆ เชื้อปรสิต จุลินทรีย์จำนวนมากก็เข้าจับสารที่เป็นอาหารทำการย่อยสลาย และคลายก๊าซเหม็น ไข่เน่า ยาที่หมอแนะนำเป็นยาที่หมอผลิตขึ้นทำลายการจับตัวของเซื้อปรสิต และยาสมุนไพรพลูสูตรที่หมอปรุงขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา และยับยั้ง ทำลายเชื้อต่างๆให้สลายตัว หรือหลุดออกจากผนังเซล์ล ยับยั้งหลั่งสารบางชนิดที่ทำให้ผนังอักเสบขาดความแข็งแรง *โรคกลิ่นปากรุนแรงสามารถแก้ไขได้ ขอทำตามข้อแนะนำ และขยันมั่นทำความสะอาดช่องปาก จมูก และการใช้ยาตามข้อแนะนำ อาจใช้เวลาสักหน่อยอาการกลิ่นปากรุนแรงดีจะค่อยๆหายไป

2.หมอมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง หมอขอตอบ. การรักษาแนวทางของหมอไม่ได้ยากแต่ต้องขยัน จริงจังที่จะแก้ปัญหา ที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากคนไข้ได้ผลดี รักษาหายได้ ด้วยการยาสมุนไพรที่สร้างภูมิคุ้มกัน +ยาสีฟันผงชนิดที่ผลิตเอง +ยาทำความสะอาดรูจมูก ควบคุมอาหารกลิ่นแรงงดอาหารที่หมอแนะนำ

3.ต้องการรักษาจะเริ่มลงชื่อรักษาอย่างไร หมอขอตอบ. เพียงติดต่อหมอ ปรึกษา สอบถามค่ายารักษาพยาบาล ที่ โทร 0823877288 ไอดีไลน์ yaforyou เมื่อคนไข้ยอมรับยา มีบันทึก ชื่อที่อยู่ ตามระบบที่รองรับไว้แล้ว ชื่อที่อยู่คนไข้หมอจะเก็บไว้เป็นเอกสารเฉพาะรู้เฉพาะหมอกับคนไข้เท่านั้น

4.ระหว่างรักษาด้วยยาของคุณหมอ สามารถปรึกษาได้อีกไหม หมอขอตอบ. เมื่อเป็นคนไข้ที่หมอบันทึกแล้ว สามารถสอบถามถึงเรื่องการรักษา และรายงานความคืบหน้าได้เป็นระยะๆ จนหายดีเป็นปกติ

แผนที่เดินทางพบหมอ (โปรดแจ้งก่อนเข้าพบ 1-3 ชม.)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.