รักษาอาการเครียดนอนไม่หลับ
อาการและอาการแสดงทั่วไปโรคระบบประสาท -เส้นประสาทตาอักเสบ ทำให้มีอาการตามัวลงในเวลาเป็นวันถึงหลายสัปดาห์ ความรุนแรงเช่นอาการตามัวเพียงเล็กน้อย บางรายตาบอดมืดสนิท อาการตามัวมักเป็นตาข้างเดียวและภาพที่มองไม่ชัดมักเริ่มจากบริเวณตรงกลางของลานสายตา และในบางรายพบว่ามีอาการประสาทหูเสื่อม -ไขสันหลังอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติได้หลายลักษณะ ได้แก่ อาการชาบริเวณแขน ขา ลำตัว กล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรง การควบคุมขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะผิดปกติ อาจเป็นเบ่งปัสสาวะอุจจาระไม่ออกหรือถ่ายราด กลั้นไม่อยู่ หรือมีอาการน้ำปัสสวะไหลออกไม่ตลอด -ปลอกประสาทในสมองอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติได้หลายลักษณะ ได้แก่ อาการเห็นภาพซ้อน เดินเซ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก เดินคล้ายคนเมา เสียการทรงตัว เป็นต้น -อาการเกร็งกล้ามเนื้อของแขนหรือขาเป็นพักๆ นานครั้งละประมาณ30-90วินาที แล้วคลายตัว
อาการนอนไม่หลับก็เป็นอาการหนึ่งที่เกิดจากสมองทำงานไม่เป็นปกติ เช่นเดียวกับอาการหมดสติหรือหลับไม่ยอมตื่น แต่อย่างหลังดูจะทำให้ญาติหรือคนใกล้ชิดตกใจได้มากวก่าและรีบพาไปพบแพทย์ ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีอาการนอนไม่หลับ ญาติมักจะปล่อยปละละเลย บางครั้งผู้ป่วยก็มักจะแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อยานอนหลับมารับประทานเอง ซึ่งยานอนหลับก็เป็นดาบสองคมได้บ่อยๆ ในผู้สูงอายุ จากผลการศึกษาในประชากรผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปที่อยู่ในชุมชน ได้รับความทนทุกข์ทรมานของอาการนอนไม่หลับถึงมากกว่าครึ่ง ยิ่งกว่านั้นอาการนอนไม่หลับอาจเป็นอาการเตือนของโรคอื่นๆ ทางสมอง ที่สมควรได้รับการตรวจพบและแก้ไข ก่อนที่จะสายเกินไป ทั้งหมดนี้แสดงถึงขนาดของปัญหานอนไม่หลับและความรุนแรงของอาการที่ถึงเวลาแล้วที่เราควรหันมาสนใจอย่างจริงจัง สาเหตุของการนอนไม่หลับในวัย สว. แบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุใหญ่ 1. เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของจากอายุ โดยปกติเมื่อมนุษย์เริ่มเข้าสู่วัยชรา สมองจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมเหมือนเช่นอวัยวะอื่น โดยลักษณะการนอนของผู้สูงอายุจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ • ระยะเวลาของการนอนตอนกลางคืนจะลดลง • ใช้เวลานานขึ้นหลังจากเข้านอนเพื่อที่จะหลับ • ช่วงระยะที่หลับแบบตื้น ( ตอนที่กำลังเคลิ้มแต่ยังไม่หลับสนิท ) จะยาวขึ้น ขณะที่ช่วงระยะที่หลับสนิทจริงๆ จะลดลง • จะมีการตื่นขึ้นบ่อยๆ กลางดึก ดังนั้นผู้สูงอายุแม้จะมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ สมวัย ก็อาจรู้สึกว่าตัวเองนอนน้อยลง หรือคิดไปว่านอนไม่หลับ แต่มีข้อที่น่าสังเกตคือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้แม้จะดูเหมือนว่า “ นอนไม่หลับ ” แต่ช่วงกลางวันก็มักจะไม่มีอาการง่วงเหงาหาวนอนแต่อย่างใด 2. เกิดเนื่องจากมีโรคที่เป็นพยาธิสภาพแฝงตัวได้แก่ • จากยาที่ผู้สูงอายุใช้ ยาบางประเภทโดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางหรือสมอง ทำให้ผู้สูงอายุมีอาการนอนไม่หลับอยู่บ่อยๆ เช่น การใช้ยานอนหลับนานๆ ยารักษาอาการสั่น เคลื่อนไหวช้าในโรค Pakinsonism หรือบางครั้งอาจเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคอื่นที่ไม่เกี่ยวกับทางสมองเช่น alcohol ในพวกยาน้ำแก้ไอ หรือ caffeine ที่ผสมในยารักษาโรคหวัด เป็นต้น เมื่อผู้สูงอายุหยุดการใช้ยาเหล่านี้ อาการนอนไม่หลับก็จะหายไปเอง • โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ผู้สูงอายุที่มีโรคใดก็ตามที่ทำให้ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อยๆ ตอนกลางคืน ก็จะมีผลต่อการนอนด้วย เช่น โรคเบาหวาน จะทำให้ปัสสาวะบ่อยและปริมาณปัสสาวะมาก โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุชาย โรคไตวายเรื้อรัง หรือแม้แต่การใช้ยาขับปัสสาวะในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือภาวะหัวใจวาย ก็ทำให้มีปัสสาวะตอนกลางคืนได้บ่อย • ความเจ็บปวด ความเจ็บปวดทางกายไม่ว่าจากอวัยวะใด จะมีผลทางอ้อมต่อการนอนหลับในผู้สูงอายุเสมอ ที่พบบ่อยมักเกิดจาก โรคของกระดูกและข้อเสื่อม ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรังได้ เช่น ข้อเข้าเสื่อม กระดูกคอเสื่อม เป็นต้น นอกจากนั้นอาการเจ็บปวดอาจเกิดจากอวัยวะภายในช่องท้องเช่น ท้องผูก แน่นท้อง อาการไม่ย่อย เป็นต้น • โรคสมองเสื่อมและภาวะจิตผิดปกติ ิ ผู้สูงอายุที่เริ่มมีสมองเสื่อมในระยะแรกจะมีอาการนอนไม่หลับได้ เพิ่มจากอาการขี้หลงขี้ลืม หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนสาเหตุของสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทยมักเกิดจากการอุดตันของเส้นโลหิตในสมองที่เกิดซ้ำกันหลายๆ ครั้ง อาจจะมีหรือไม่มีอาการของอัมพาตร่วมด้วยก็ได้ นอกจากนั้นภาวะซึมเศร้าก็เป็นสาเหตุของการนอนยากในผู้สูงอายุได้ โดยผู้ป่วยมักจะมีลักษณะที่เข้านอนได้ตามปกติ แต่ตื่นขึ้นกลางดึกเช่น ตี 3-4 แล้วไม่สามารถนอนต่อได้อีก โรคเครียด โรคเครียด สามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงานความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทในส่วนของสับสแตนเชีย ไนกรา ซึ่งเซลล์ระบบประสาทส่วนนี้มีหน้าที่ในการผลิตสารโดปามีนซึ่งมีส่วนสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ดังนั้นเมื่อเซลล์สมองส่วนนี้เสื่อมและผลิตสารโดปามีนน้อยลง จึงส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการติดขัดทางการเคลื่อนไหวและการทรงตัว อาการเตือน ของโรคพาร์กินสัน ได้แก่ อาการนอนละเมอ ดมกลิ่นได้น้อยลง ท้องผูกเรื้อรัง และซึมเศร้า ในช่วงที่เป็นโรคใหม่ๆ อาการเด่นชัดที่สุดจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ซึ่งรวมถึงการสั่น สภาพแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า เดินลำบากและติดขัด เวลาเดินแล้วแขนไม่แกว่งไปมา ต่อมาอาจเกิดปัญหาด้านการคิดและพฤติกรรมได้ โดยภาวะสมองเสื่อมเกิดได้ทั่วไปในระยะท้ายของโรค ขณะที่ภาวะซึมเศร้าเป็นอาการจิตเวชที่พบบ่อยที่สุด แนวทางการรักษาแพทย์แผนไทย หมอมานิตย์ ขอให้ท่านผู่ป่วย หรือญาติคนสนิทติดต่อหมอ หรือนัดเข้ามาตรวจรักษาตามข้อมูลต่อไปนี้ โปรดนัดก่อนเข้าพบ 1-3 ชม. วันจันทร์-เสาร์ หรือนัดพบโดยแจ้งพนักงานก่อน สำหรับโรคนี้ยังรักษาได้ครับ แต่จะใช้เวลาปรับสมดุลร่างกายสักระยะครับ โทร 0823877288 ไอดีไลน์ yaforyou